Hamutaro

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เเนะเเนว

สายอาชีพ

- มีหลักสูตรหลักคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ เมื่อเรียนจบก็นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. เน้นความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เช่น สาขาบัญชี สาขาการโรงแรม เป็นต้น
- ข้อดีของสายอาชีพคือ มีความรู้เฉพาะด้านแน่น ไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็สามารถทำงานได้เลย สอบราชการก็ได้
- ข้อเสียของสายอาชีพคือ มีข้อจำกัดในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในบางสาขาวิชาหรือบางคณะ เช่น คณะสัตวแพทย์ฯ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ทั้งหมดนี้สายอาชีพไม่สามารถสมัครเรียนต่อได้

 

สายสามัญ

- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถครบทุกด้าน
- ข้อดีของสายสามัญคือ ความรู้พื้นฐานทั่วไปค่อนข้างแน่นกว่าสายอาชีพ เพราะเน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าสายอาชีพ
- ข้อเสียของสายสามัญคือ ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ เรียนจบแค่ ม. 6 แล้วไม่ต่อปริญญาตรีจะหางานค่อนข้างยาก และไม่ค่อยมีประสบการณ์ในวิชาชีวิตการทำงานเท่าสายอาชีพ

จะเห็นว่าทั้งสายอาชีพและสายสามัญล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่การจะได้งานดีๆ หรืออาชีพที่ตรงใจ ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีความชำนาญหรือทักษะเฉพาะด้าน การพัฒนาตัวเองและใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ การมีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ที่สำคัญคือต้อง "รัก" ในอาชีพที่ทำ ก็จะยิ่งทำในสิ่งนั้นได้ดี
ไม่ว่าจะจบสายอาชีพหรือสายสามัญ ความมุ่งมั่นและตั้งใจจะสามารถสร้างความโดดเด่น และเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดสำหรับทุกบริษัทที่ต้องการคนทำงานคุณภาพมาร่วมงานด้วย

การงานอาชีพ

ตุ๊กตาถุงเท้าการบูร (Camphor sock dolls pattern)

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนนะค่ะ พอดีวันนี้ไปอ่านเจอวิธีทำเงินค่ะ เพื่อนๆ คงสงสัยกันว่ามันเกี่ยวอะไรกับตุ๊กตาหรือว่าแพทเทินตุ๊กตา นกขอบอกว่าอันอื่นไม่เกี่ยว แต่อันนี้เกี่ยวอย่างมากๆ ค่ะ เพราะว่านั่นคือ แอ่น..แอ้น ตุ๊กตาถุงเท้าการบูร (Camphor sock dolls pattern) เป็นไงละโดนบ้างหรือเปล่าค่ะ พอเจออย่างนี้แล้วนกก็เลยอยากนำมาเล่าสู่เพื่อนๆ บ้างค่ะ เริ่มเลยนะค่ะ (ต่อจากนี้เป็นข้อความที่อยู่ในหนังสือทั้งหมด นกขออนุญาตก็อปมาทั้งหมดนะค่ะ เพื่อเป็นการให้เกียรติ เจ้าของหนังสือค่ะ)

วันนี้เรามีงานอดิเรกที่น่ารักๆ มาแนะนำกันอีกครั้ง โดยขั้นตอนการก็ไม่ยุ่งยากเลยใครก็ทำได้ ทั้งยังปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตามแต่จะจินตนาการ ซึ่งก็คือ "ตุ๊กตาการบูร เด็กแนว" ลองทำดูแล้วจะรู้ว่าง่าย ใช้แขวนดับกลิ่นหรือเพิ่มความสดชื่น ที่สำคัญกลายเป็นอาชีพเสริมให้กับคุณแม่บ้านก็ได้ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า



วัสดุ-อุปกรณ์
1.ถุงเท้าขนาดเล็ก หรือถุงเท้าเด็ก (สีอะไรก็ได้ แต่ที่แนะนำคือมองดูสวย ดังนั้นควรจะเป็นสีสดหรือออกฉูดฉาด:นก แนะนำ)
2.การบูร
3.ใยสังเคราะห์ (ใช้เกรดต่ำเช่น A ตัวเดียวก็ได้:นก แนะนำ)
4.เชือกผ้าเส้นใหญ่ เส้นเล็ก
5.เข็ม ด้าย หนังยาง กาวลาเท็กซ์
6.ตาตุ๊กตา กิ๊บติดผม
***ทั้งหมดหาซื้อได้ที่สำเพ็ง ที่เดียวครบ***


วิธีการทำ
1.ตัดถุงเท้าตรงส่วนส้นเท้าออก (ตามรูป) จะได้ถุงเท้าเป็น 2 ส่วน (พยายามให้รอยตัดเป็นเส้นตั้งฉาก)
2.นำก้อนการบูรหุ้มด้วยใยสังเคราะห์ แล้วใส่เข้าไปในถุงเท้าส่วนที่ 1 จัดรูปทรงให้เป็นก้อนกลม แล้วใช้หนังยางรัด และนำส่วนที่ 2 มาพับส่วนปลายเข้าด้านในสวมรอบในส่วนที่ 1 (ส่วนที่ 2 มียางยืดของถุงเท้าอยู่ทำให้ครอบแล้วแน่นหนาไม่เลื่อนหลุด)
3.นำเชือกผ้าขนาดยวพอประมาณ มามัดปมทั้งสองข้าง แล้วมัดเชือกที่คอตุ๊กตาปิดหนังยางให้มิด (ตามรูป) และนำอีกเส้นมัดปม 2 ข้าง มาทำเป็นขาตุ๊กตาเย็บด้ายติดกับตัวเสื้อตุ๊กตา
4.ตกแต่งหน้าตุ๊กตา โดยใช้กาวลาเท็กซ์ติดลูกตา นำกิ๊บมาติดที่หมวก ส่วนปากใช้เชือกผ้าเส้นเล็กหรือใหมพรมชุบกาวติดลงไป
5.ทำเชือกแขวนเย็บติดที่หัวตุ๊กตา (อย่าทำที่หมวกเพราะอาจหลุดจากตัวตุ๊กตาเวลาแขวน)



เท่านี้เราก็ได้ตุ๊กตาการบูรน่ารักๆ ไว้แขวนตกแต่งประดับห้อง ทั้งนี้อาจตกแต่งเพิ่มเติมจากตัวอย่างได้ ขึ้นอยู่กับความชอบ เช่น อาจติดดอกไม้ที่หมวก ให้ดูเป็นตุ๊กตาผู้หญิง หรือหาเศษผ้ามาทำเป็นผ้าพันคอให้เหมือนตุ๊กตาเมืองหนาวหรือจะสลับสีถุงเท้าคนละข้างกันก็เก๋กู๊ด

เป็นไงบ้างค่ะเพื่อนๆ น่าสนใจหรือเปล่าลองทำดูนะค่ะ นกว่าคงทำง่ายกว่า Crochete dolls เป็นแน่แท้ 555... สุดท้ายนี้นกต้องขอขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้จากคอลัมน์ "ช่างคิดช่างทำ" โดยคุณ พิงค์เลดี้ วารสานบ้านเอื้ออาทร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2552

ภาษาอังกฤษ

◊ หลักการใช้ Present Simple Tense

ในหนังสืออาจจะบอกไว้หลายข้อ แต่ให้ผู้เรียนจำไว้แค่ 2 ข้อ คือ จริงและวัตร
1. จริง คือ ข้อเท็จจริงทั่วไป ซึ่งเป็นการบอกกล่าว เล่า ถามเรื่องราว เหตุการที่เป็นข้อเท็จริงทั่วๆไป (facts) และข้อมูลข่าวสาร (information)
  • ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนจะเป็นข้อมูลบอกให้รู้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน มีอาชีพอะไร ชอบอะไร เป็นต้น
His name is Somchai. ชื่อ ของเขา คือ สมชาย
He comes from Thailand. เขา มา จาก ประเทศไทย
He is a doctor. เขา เป็น หมอ
He can play football. เขา สามารถ เล่น ฟุตบอล
  • ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ก็จะเป็นการบอกให้รู้ว่ามันคืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ลักษณะนิสัยใจคอ แหล่งที่อยู่ เป็นต้น
Elephants are the largest  land animals. ช้าง เป็น สัตว์ บก ที่ใหญ่ที่สุด
They have 28 teeth. พวกมัน มี ฟัน 28 ซี่
They eat grass. พวกมัน กิน หญ้า (เป็นอาหาร)
They can swim. พวกมัน สามารถ ว่ายน้ำ
  • ถ้าเป็นสิ่งของก็จะบอกให้รู้ว่ามันคืออะไร ทำมาจากอะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
This is a Japanese car. นี่ คือ รถยนต์ ญี่ปุ่น
It is very expensive. มัน มีราคาแพง มาก
The company is in Japan. บริษัท อยู่ ใน ญี่ปุ่น
  • ถ้าเป็นสถานที่ก็จะเป็นข้อมูลข่าวสารของสถานที่นั้น เช่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็จะเป็นข้อมูลของประชากร พื้นที่ สถานที่สำคัญๆต่างๆเป็นต้น
Bangkok is the capital city of Thailand. กรุงเทพ เป็น เมืองหลวง ของ ประเทศไทย
It has 50 districts. มัน มี 50 อำเภอ (เขต)

สุขศึกษา-พลศึกษา

 กีฬาปิงปอง เป็นกีฬาสันทนาการอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานในหมู่คณะ ขณะเดียวกันก็เป็นกีฬาที่มีความท้าทายที่ผู้เล่นต้องต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายในการรับ-ส่งลูก

ปนะวัติปิงปอง

          ซึ่งความท้าทายนี้จึงทำให้กีฬาปิงปองได้รับความนิยมในระดับสากล กระทั่งถูกบรรจุในการแข่งขันระดับโลก ด้วยความน่าสนใจของกีฬาปิงปองนี้ ดังนั้นทางกระปุกดอทคอมจึงได้นำข้อมูลของกีฬาปิงปองมาฝากค่ะ
 
ประวัติกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส
 
          กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เล่นปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง "ปิก-ป๊อก"  ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า "ปิงปอง" (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน
 
          ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP  หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบนยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับแบบยุโรป" และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับไม้แบบจีน" 
 
          ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ.  2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND)  และ หลังมือ  (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง
 
          ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465)  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า "PINGPONG" ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ขึ้น เป็นครั้งแรก
 
          จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับวิธีการเล่นโดยเน้นไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย  ทำให้จึงกีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

 
ปิงปอง


          ในเรื่องเทคนิคของการเล่นนั้น ยุโรปรุกด้วยความแม่นยำ และมีช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ญี่ปุ่นสามารถชนะการเล่นของยุโรปได้  แม้ในช่วงแรกหลายประเทศจะมองว่าวิธีการเล่นของญี่ปุ่น เป็นการเล่นที่ค่อนข้างเสี่ยง แต่ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในการแข่งขันติดต่อกันได้หลายปี เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของยุโรปเลยทีเดียว
 
          ในที่สุดสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ด้วยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน  ซึ่งจีนได้ศึกษาการเล่นของญี่ปุ่น ก่อนนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเล่นแบบที่จีนถนัด กระทั่งกลายเป็นวิธีการเล่นของจีนที่เราเห็นในปัจจุบัน
 
          หลังจากนั้นยุโรปได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง และในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป และผู้เล่นชาวเอเชีย แต่นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงแล้ว ขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเก่งขึ้น  ทำให้ยุโรปสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ
 
          จากนั้นในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้กับชาวยุโรป  โดยในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรป และนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับ และลาตินอเมริกา  ก็เริ่มก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น และมีการแปลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิค ทำให้การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหายไปตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)  เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง
 
          จากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  และมีการปรับปรุงหน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ที่มีความยาวของเม็ดยางมากกว่าปกติ โดยการใช้ยางที่สามารถเปลี่ยนวิถีการหมุน และทิศทางของลูกเข้าได้ จึงนับได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ และมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา กระทั่งกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
 
          สำหรับประวัติกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสในประเทศไทยนั้น ทราบเพียงว่า คนไทยรู้จักคุ้นเคย และเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านาน แต่รู้จักกันในชื่อว่า กีฬาปิงปอง โดยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า มีการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี  โดยในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งมีการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 
ปิงปอง

การเล่นกีฬาปิงปอง หรือเทเบิลเทนนิส
 
          กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้
 
           ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้

          1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด 

          2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย

          3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

          4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น

          5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน

          6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

          7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

          8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ 

          9. เท้า :  หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

 
ปิงปอง


วิธีการเล่นกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส

          1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร

          2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่

          3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่

          4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน

          5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ

          6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ 

                    6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน

                    6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน

สังคมศึกษา

กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

ประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับ ที่สำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 
พระราชบัญญัติอาหาร 2522 
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2530 
โดยมีรายละเอียดอย่างย่อๆดังนี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฎหมายกำหนดไว้ ๕ ประการคือ 
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

2. การก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือ 
- พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องมาจากการกระทำของ     ผู้ประกอบธุรกิจ
- ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควร     ทราบ

3. การกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญได้แก่
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา



พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522


กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีการประกาศให้อาหารใดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
2. ให้มีคณะกรรมการ คือคณะกรรมการอาหารและยา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในกรณีต่างๆ เพื่อควบคุม           คุณภาพของอาหาร
3. กำหนดให้มีการขออนุญาตเพื่อผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหาร
4. กำหนดลักษณะของอาหารลักษณะต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือห้ามผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อ                จำหน่าย ได้แก่
    1. อาหารไม่บริสุทธิ์
    2. อาหารปลอม
    3. อาหารผิดมาตรฐาน


พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530


เนื้อหาสาระที่สำคัญของพระราชบัญญัติยา ได้ กำหนดประเภทของยาไว้หลายประเภทด้วยกันเพื่อสะดวกในการควบคุม และกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการยาการควบคุมพรบ.ยากำหนดให้มีการควบคุมการผลิต และการขายยาโดยเภสัชกรและผู้ประกอบโรคศิลป แล้วแต่ประเภทของยา

พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ได้แบ่งยาออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. ยาแผนปัจจุบัน
2. ยาแผนโบราณ
3. ยาสามัญประจำบ้าน
4. ยาอันตราย
5. ยาควบคุมพิเศษ
6. ยาบรรจุเสร็จ
7. ยาสมุนไพร
8. ยาใช้ภายนอก
9. ยาใช้เฉพาะที่


หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค


1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่ตรวจสอบและคุมภาพของอาหารและยา เช่น อาหารกระป๋อง
เครื่องสำอางและยา

2. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ของผู้บริโภค
ที่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ควบคุมการโฆษณาสินค้า ที่เป็นเท็จ หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ภาชนะและเครื่องมือในครัวเรือน

1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า
หรือบริการ
- สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้การพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

หลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย คือ เมื่อมีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคไว้เป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องบังคับตามกฎหมายฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ผู้บริโภคสามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเฉพาะเรื่องสินค้าอาหารเท่านั้น แต่ถ้ากรณีไม่มีกฎหมายใด หรือหน่วยงานใดให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความคุ้มครองในผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป

2. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมและได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 กฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงสาธารณสุข

- พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

2.2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์

- พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงยุติธรรม

- พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540

เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค เพื่อฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำเนินคดีแต่อย่างใด

กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการ เช่น มนุษย์ต้องบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ต้องใช้บริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า รวมทั้งบริการอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การใช้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคหรือการใช้บริการต่าง ๆจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาแนะนำไว้ ด้วยเหตุนี้ รัฐในฐานะผู้คุ้มครองดูแลประชาชน หากพบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการบริโภคสินค้าและบริการจะต้องรีบ เข้าไปแก้ไขเยียวยาและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน

หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น
1. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล
2. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล
3. กรณัที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล
4. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล


5. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล



สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ที่ไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหนาวยงานที่คุ้ทครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น เพระาหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บรริโภคได้ 5 ประการคือ
1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้่หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพสินค้าและบริการ
2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการดดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4) สิทธิที่จะได้รับการพิพจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค

นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอหล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือรับบรริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า
2) การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
3) ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
4) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
5) เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการคุ้มครอวผู้บรืโภค

ศิลปะ

โครงสีร้อน

โครงสีร้อน หมายถึง ชุดสีที่ประกอบด้วย สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง สีวรรณะร้อนให้ความรู้สึกตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดี โครงสีร้อนนี้สภาพโดยรวมจะมีความกลมกลืนของสีมากควรมีสีเย็นมาประกอบบ้างทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้น
sohot.JPG
ตัวอย่างภาพสีโทนร้อน
warmpic11.jpg DSCF7007[1].jpg

โครงสีเย็น

โครงสีเย็น หมายถึง ชุดสีที่ประกอบด้วยสีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน โครงสีเย็นให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับ เยือกเย็น ในทางจิตวิทยาสีเย็นมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกหดหู่ เศร้า โครงสีเย็นควรมีสีร้อนแทรกบ้างจะทำให้ผลงานดูน่าสนใจมากขึ้น
cool.JPG
ตัวอย่างภาพโทนสีเย็น
08-www.showwallpaper.com.jpg 10-www.showwallpaper.com.jpg

สรุป

วรรณะร้อน ( warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีม่วงแดง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
วรรณะเย็น ( cool tone) ประกอบด้วย สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ) การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก

วิทยาศาสตร์


มนุษย์นำความร้อนจากไฟ ดวงอาทิตย์ หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ประการ ความร้อนจากเตาไฟทำให้หมูกระทะสุกได้ ความร้อนจากเครื่องทำน้ำอุ่นทำให้เรามีน้ำอุ่นสบายอาบในช่วงที่อากาศหนาว ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้เสื้อผ้าแห้ง การที่เรานำความร้อนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดีนี้เป็นเพราะความร้อนสามารถถ่ายโอนหรือส่งผ่านจากวัตถุหนึ่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปสู่อีกวัตถุหนึ่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้
ภาพ : Shutterstock

การถ่ายโอนความร้อนเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ

1. การนำความร้อน (Conduction)

หากเราเทน้ำร้อนใส่แก้วที่ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะ แล้วนำไปวางไว้ในแก้วอีกใบที่ใหญ่กว่าซึ่งมีน้ำเย็นอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่  น้ำในแก้วทั้งสองจะมีอุณหภูมิเท่ากัน หรือขณะที่เราต้มน้ำในกา หากมือของเราบังเอิญไปสัมผัสกับกาต้มน้ำ จะทำให้เรารู้สึกถึงความร้อนจากกา ซึ่งความร้อนนั้นก็อาจทำให้ผิวหนังของเราไหม้พองได้อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นการถ่ายโอนความร้อนในรูปแบบของการนำความร้อน

การนำความร้อนเกิดขึ้นโดยมีวัตถุที่เป็นของแข็งเป็นตัวกลาง จากการสั่นของอนุภาคที่เรียงตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นในวัตถุที่เป็นของแข็งนั้น และส่งพลังงานอย่างต่อเนื่องกันไป โดยไม่มีการเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือสสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มีเพียงพลังงานเท่านั้นที่ถูกถ่ายโอนไป เช่น จากน้ำร้อนไปสู่น้ำเย็นหรือจากกาต้มน้ำสู่มือของเรา
ภาพ : Shutterstock

วัตถุที่นำความร้อนได้ดี เราเรียกว่า "ตัวนำความร้อน (Conductor)" ได้แก่ โลหะ เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก ส่วนวัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีเราเรียกว่า "ฉนวนความร้อน (Insulators)" ได้แก่ อโลหะและก๊าซ เช่น ไม้ พลาสติก อากาศ ซึ่งความรู้ในเรื่องนี้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสร้างบ้านเพื่อระบายความร้อนได้อีกด้วย โดยบ้านที่สร้างจากฉนวนใยหินหรือไฟเบอร์กลาส จะมีความเย็นภายในเพราะวัสดุดังกล่าวเป็นฉนวนความร้อน จึงมีการนำความร้อนจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้านได้น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ อย่างไรก็ตามฉนวนความร้อนไม่ได้หยุดการถ่ายโอนความร้อนอย่างสิ้นเชิง เพียงแต่ทำให้การถ่ายโอนความร้อนเป็นไปได้ช้าลงเท่านั้น

2. การพาความร้อน (Convection)

ตัวอย่างของการพาความร้อนที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การถ่ายโอนความร้อนผ่านน้ำซึ่งต้มอยู่ในหม้อ ขณะที่น้ำเดือดเราจะเห็นได้ว่า มีการเคลื่อนที่ของน้ำในหม้อเกิดขึ้น นั่นคือการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อนซึ่งมีน้ำเป็นตัวกลาง
ภาพ : Shutterstock

เมื่อเราให้ความร้อนแก่น้ำ น้ำที่อยู่ก้นหม้อจะได้รับความร้อน มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น และเกิดการขยายตัว เนื่องจากอนุภาคของน้ำที่ได้รับความร้อนมีการเคลื่อนที่ ช่องว่างระหว่างโมเลกุลของน้ำจะเพิ่มขึ้น ขณะที่อนุภาคมีขนาดเท่าเดิม ทำให้น้ำบริเวณก้นหม้อมีความหนาแน่นน้อยลง ดังนั้น มันจึงลอยตัวสู่ผิวน้ำด้านบน ส่วนผิวน้ำด้านบนที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าแต่ความหนาแน่นมากกว่าก็จะเคลื่อนลงมาอยู่ที่ก้นหม้อแทน เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะหยุดให้ความร้อนแก่น้ำ และการพาความร้อนในลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นกับก๊าซได้เช่นกัน เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่วางอยู่บนตะแกรงเหนือกองไฟ
ภาพ : Pixabay

เนื่องจากของเหลวและก๊าซถือว่าเป็นของไหล อนุภาคในของไหลสามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้ ดังนั้น เมื่ออนุภาคของของเหลวหรือก๊าซได้รับพลังงานความร้อน มันจึงเคลื่อนที่ไปสู่ที่ที่มีพลังงานความร้อนน้อยกว่า เป็นการถ่ายโอนความร้อนในลักษณะของการพาความร้อนด้วยตัวกลางอย่างของเหลวและก๊าซนั่นเอง ทั้งนี้เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการพาความร้อนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างการสร้างช่องระบายอากาศภายในบ้าน เป็นต้น

 

3. การแผ่รังสีความร้อน (Radiation)

วัตถุทุกชนิดมีการแผ่และดูดซับรังสีความร้อนหรือที่เรียกว่า "รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation, IR)" โดยรังสีอินฟราเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง จึงแตกต่างจากการนำความร้อนและการพาความร้อนที่ต้องอาศัยอนุภาคของตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อน

การแผ่รังสีความร้อนจะมีลักษณะการแผ่ออกไปในทุกทิศทุกทางรอบจุดกำเนิดหรือวัตถุ โดยวัตถุที่มีความร้อนมากกว่าจะแผ่รังสีได้มากกว่า เช่น ดวงอาทิตย์แผ่รังสีความร้อนได้มากกว่ากาแฟร้อนในแก้ว ส่วนความสามารถในการดูดซับความร้อนก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นกับลักษณะและสมบัติของวัตถุนั้น ๆ เช่น วัตถุสีเข้ม ด้าน จะสามารถแผ่และดูดซับความร้อนได้ดีกว่าวัตถุที่มีสีอ่อนและมันวาว หรือหากวัตถุสองชิ้นทำจากวัสดุชนิดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน วัตถุที่มีลักษณะแบนและบาง จะสามารถแผ่รังสีความร้อนได้เร็วกว่าวัตถุที่อ้วนหนา

ลูกเสือ

เรียนรู้เงื่อนเชือก
10 เงื่อนพื้นฐานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

๑. เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Cleve Hitch )

ประโยชน์
     ๑. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือเรือแพเพื่อป้องกันไม่ให้ปมเชือกคลายหลุดควรเอาปลายเชือกผูกขัดสอดกับตัวเชือก ๑ รอบ )
    ๒. ใช้ผูกบันไดเชือก บันไดลิง  ผูกกระหวัดไม้
    ๓. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท
 
๒. เงื่อนพิรอด  ( Reef Knot หรือ Square Knot )              

                  

ประโยชน์
    ๑.  ใช้ต่อเชือก ๒ เส้น ที่มีขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
    ๒.  ใช้ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ
    ๓.  ใช้ผูกมัดหีบห่อ และวัตถุต่าง ๆ
    ๔.  ผูกเชือกรองเท้า ( ปลายกระตุก ๒ ข้าง ) และผูกโบว์
    ๕.  ใช้ผูกกากบาทญี่ปุ่น     ๖.  ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตามต้องการเพื่อช่วยคนที่อยู่ที่สูงในยามฉุกเฉิน ( ต้องเป็นผ้าเหนียว ๆ )  

๓. เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )

ประโยชน์ของเงื่อนขัดสมาธิ
    ๑. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน ( เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด ) หรือต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกันก็ได้
    ๒.ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน(เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
    ๓.ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
    ๔.ใช้ต่อด้ายต่อเส้นไหมทอผ้า
    ๕. ใช้ผูกเชือกกับขอหรือบ่วง ( ใช้เชือกเล็กเป็นเส้นผูกขัดกับบ่วงหรือขอ ) เช่น ผูกเชือกกับธงเพื่อเชิญธงขึ้น - ลง 

๔. เงื่อนผูกร่น หรือ ทบเชือก (Sheepshank)

 ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกร่นเชือกตรงส่วนที่ชำรุดเล็กน้อย  เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
    ๒. เป็นการทบเชือกให้เกิดกำลังลากจูง
    ๓. การร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้น ตามต้องการ





๕. เงื่อนกระหวัดไม้  (Two Haft Hitch)

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกชั่วคราวกับห่วง หรือกับรั่ว กับกิ่งไม้
    ๒. แก้ง่าย แต่มีประโยชน์
    ๓. ผูกเชือกสำหรับโหน

๖. เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline ) ใช้ทำเป็นบ่วงที่มีขนาดที่ไม่เลื่อนไม่รูด

 ประโยชน์
    ๑. ทำบ่วงคล้องกับเสาหลักหรือวัตถุ เช่น ผูกเรือ แพไว้กับหลัก ทำให้เรือ แพขึ้น - ลง ตามน้ำได้
    ๒. ทำบ่วงคล้องเสาหลัก เพื่อผูกล่ามสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพื่อให้สัตว์เดินหมุนได้รอบ ๆ เสาหลัก เชือกจะไม่พันรัดคอสัตว์
    ๓. ใช้ทำบ่วงให้คนนั่ง เพื่อหย่อนคนลงสู่ที่ต่ำหรือดึงขึ้นสู่ที่สูง
    ๔. ใช้คล้องคันธนู เพื่อโก่งคันธนู
    ๕. ใช้ทำบ่วงต่อเชือกเพื่อการลากโยงของหนัก ๆ หรือทำบ่วงบาศ
    ๖. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งถังนอน

๗. เงื่อกผูกรั้ง ( Tarbuck Knot )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกสายเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้
    ๒. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการได้

๘. เงื่อนประมง ( Fishirman's  Knot )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ต่อเส้นด้ายเล็ก ๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
    ๒. ใช้ต่อเชือก ๒ เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
    ๓. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว
    ๔. ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
    ๕. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
    ๖. ใช้ผูกเรือแพกับท่าเรือหรือกับหลักหรือห่วง
    ๗. เป็นเงื่อนที่ผูกง่ายแก้ง่าย

๙. เงื่อนผูกซุง ( A Timber Hitch )

ประโยชน์
    ๑. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
    ๒. ใช้ผูกทแยง
    ๓. ใช้ผูกสัตว์ เรือแพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
    ๔. เป็นเชือกผูกง่ายแก้ง่าย

๑๐. เงื่อนเก้าอี้ ( Chair Knot or ireman's Chair Knot ) **

ประโยชน์
เป็นเงื่อนกู้ภัยใช้ช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง ไม่สามารถลงทางบันไดได้ หรือใช้ช่วยคนขึ้นจากที่ต่ำ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับบ่วงสายธนู ๒ ชั้นยึดกันแน่นโดยมีสิ่งของอยู่ตรงกลางภายในบ่วงเพื่อดึงลากสิ่งของไประหว่างจุด ๒ จุด

เงื่อนผูกแน่น(Lashing ) มี ๓ ชนิด ได้แก่
    ๑. ผูกประกบ ( Sheer Lasning )
    ๒. ผูกกากบาท ( Square Lashing )
    ๓. ผูกทแยง ( Diagonal Lashing )

ผูกประกบ มีหลายวิธี เช่น ผูกประกบ ๒ ประกบ ๓

ผูกประกบ ๒ ใช้ต่อเสาหรือไม้ ๒ ท่อนเข้าด้วยกัน

           วิธีผูก   เอาไม้ที่จะต่อกันวางขนานกัน ให้ส่วนที่จะผูกวางซ้อนกันประมาณ ๑/๔  ของความยาว ( ต่อแล้วเสาจะตรง ) เอาเชือกที่จะผูกผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่เสาต้นหนึ่งเอาปลายเชือกพันบิดเข้ากับตัวเชือก ( แต่งงานกัน ) เอาลิ่มหนาเท่าเส้นเชือกคั่นระหว่างเสาทั้งสองรูป   จัดให้เงื่อนอยู่ใกล้ ๆ ปลายเสาด้านที่ซ้อนกันแล้วจับตัวเชือกพันรอบเสาทั้งสองจากปลายเสาเข้าใน   เรียงเส้นเชือกให้เรียบ พันให้เท่าความกว้างของเสาทั้ง ๒ ต้น ดังรูป ๒ เสร็จแล้วพันสอดเชือกเข้าระหว่างไม้เสาทั้งสองพันหักคอไก่ พันรอบเชือกที่พันเสาทั้ง ๒ ต้น ดึงรัดให้แน่น รูป ๓  แล้วผูกด้วยตะกรุดเบ็ดบนเสาอีกต้นหนึ่ง ( คนละต้นกับอันขึ้นต้น ) เหน็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
            ผูกประกบ ๓   เอาไม้ ๓ ท่อนมาเรียงขนานกัน เริ่มผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันกลางเอาปลายเชือกแต่งงานกันกับตัวเชือก แล้วเอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๓ ต้น เรียงเส้นเชือกให้เรียบร้อย พันให้มีความกว้างเท่าเสาทั้ง ๓ ต้น ( ก่อนพันอย่าลืมเอาลิ่มขนาดเส้นเชือกคั่นระหว่างเสา ) พันเสร็จแล้วหักคอไก่ระหว่างซอกเสาทั้ง ๓ ต้นให้แน่น แล้วผูกลงท้ายด้วยเงื่อนตะกรูดเบ็ดทีเสาต้นริมต้นใดต้นหนึ่งเก็บซ่อนปลายเชือก ให้เรียบร้อย

ผูกกากบาท (Square Lashing )
วิธีที่ ๑ กากบาทแบบ Gilwell และแบบ Thurman

 วิธีผูก   เอาไม้หรือเสามาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาท (กางเขน ) เอาเชือกผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง เอาปลายเชือก  แต่งงานกับตัวเชือก รูป๑  เอาเชือกอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา ( ซ้ายก่อนก็ได้ ) ของไม้ตั้งดึงขึ้นเหนือไม้อันขวางพันอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งไปทาง
ซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทางด้านขวาของไม้อันตั้งดึงเชือก   ขึ้นพาดบนไม้อันขวางทางขวาไม้อันตั้งแล้วพันตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก ทุกรอบต้องดึงให้เชือกตึง     เรียงเส้นเชือกให้เรียบด้วย  แล้วพันวนเรื่อย ๆ  ไปประมาณ ๓ - ๔ รอบ (หรือเส้นเชือกด้านกลังชิดกัน ) จึงพันหักคอไก่ ๒ - ๓ รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่  ไม้อันขวาง ( คนละอันกับขึ้นต้นผูก )

ผูกทแยง (Diang  Lashing )

           วิธีผูก   เอาเชือกพันรอบเสาทั้ง ๒ ต้น ตรงระหว่างมุมตรงข้ามด้วยเงื่อนผูกซุง แล้วดึงตัวเชือกไม้เสาทั้ง ๒ ต้น ตามมุมตรงข้ามคู่แรก ( มุมทแยง )  ประมาณ ๓ รอบ ( ทุกรอบดึงให้เชือกตึง ) แล้วดึงเชือกพันเปลี่ยนมุมตรงข้ามคู่ที่ ๒ อีก ๓ รอบ แล้วดึงเชือกพันหักคอไก่ ( พันรอบเชือกระหว่างไม้เสา ทั้งสอง ) สัก ๒ - ๓ รอบ พันเสร็จเอาปลายเชือกผูกตะกรูดเบ็ดทีไม้เสาต้นใดต้นหนึ่ง เก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย
ประโยชน์
๑. ใช้ในงานก่อสร้าง
๒. ให้ผูกเสาหรือไม้ค้ำยัน ป้องกันล้ม
๓. ทำตอม่อสะพาน



ผูกตอม่อสะพาน ( Trestle )
อุปกรณ์ทำตอม่อสะพาน ด้วยไม้พลองหรือเสาเข็ม
๑. เสายาวพอสมควร จำนวน ๖ต้น ( ใช้พลองฝึก )
๒. เชือกมนิลาสำหรับผูก ๙ เส้น ขนาดโตพอสมควร ( ฝึกด้วยพลองเชือกยาว ๓ เมตร )
วิธีสร้าง   ฝึกด้วยไม้พลอง
๑. วางไม้พลอง ๒ อันขนานกันห่างกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของความยาว เป็นเสาตั้ง  ( leg )
๒. เอาไม้พลองอีก ๒ อัน วางทับลงบนไม้พลองคู่แรก ( leg ) ให้ปลายยื่นออกไปด้านละ ๑/๖ หรือ ๑/๘
๓. เอาเชือกวัดความยาวของพลอง ทบเชือกแบ่งเป็น ๘ และ ๑๖ ส่วน เลื่อนหัวเสาทั้ง ๒ อัน                                                       เข้าหากันอีกข้างละ  ๑/๑๖   เพื่อทำให้หัวเสาสอดเข้าหากัน
๔. เงื่อนที่ใช้ผูกใช้เงื่อนผูกกากบาทและผูกทแยง ( ตรงกลาง )
ประโยชน์
๑. ใช้ต่อเสาหรือไม้ให้ยาว
๒. ทำตอม่อสะพาน เสาธงลอย
๓. ทำนั่งร้าน ทำหอคอย











การเก็บเชือก


เเนะเเนว

สายอาชีพ - มีหลักสูตรหลักคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ เมื่อเรียนจบก็นำความรู้ที...