Hamutaro

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ดนตรี-นาฎศิลป์

ประเภทของการรำที่แทรกอยู่ในการแสดงละคร

รำเดี่ยว
คือการแสดงที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว มีจุดมุ่งหมายเพื่ออวดฝีมือการร่ายรำที่ประณีตงดงาม ผู้แสดงรำเดี่ยวจึงต้องมีทักษะในการรำและได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การรำเดี่ยว ได้แก่ มโนห์ราบูชายัญ ในเรื่องพระสุธนมโนห์รา รำพลายชุมพลในเรื่องขุนช้างขุนแผน ฯลฯ ซึ่งเป็นการรำที่มีลีลากรีดกราย ท่วงทีงดงามใส่ความรู้สึกบนใบหน้า ท่าทางและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการรำฉุยฉายซึ่งมีอยู่หลายชุด เช่น ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายศูรปนขาแปลง ฉุยฉายทศกัณฐ์ เป็นต้น ส่วนใหญ่สอดแทรกอยู่ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ แต่ละเพลงผู้แสดงจะต้องรำด้วยลีลาการเคลื่อนไหวไปตามบุคลิกเฉพาะของตัวละครในบทนั้นๆ ด้วย

รำคู่
คือการแสดงที่ใช้ผู้แสดง 2 คน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ ไม่มีบทร้อง และรำคู่ที่เป็นการแสดงเน้นความสวยงาม
  1. การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ เป็นการรำที่ไม่มีบทร้อง ใช้สลับฉากในการแสดง ได้แก่ กระบี่กระบอง การต่อสู้ด้วยดาบ ทวน พลอง เป็นต้น
  2. การรำคู่ในชุดสวยงาม เป็นการรำที่ได้รับความนิยมเพราะท่ารำมักจะประดิษฐ์ให้สวยงาม เช่น รำแม่บท รำเบิกโรง ชุดรำดอกไม้เงินทอง รำประเลง เป็นต้น

    นอกจากนี้ การรำคู่ยังนำไปประกอบอยู่ในการแสดงเป็นชุดเป็นตอน เช่น
    หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา ( เพลงเชิดนอก ) ในเรื่องรามเกียรติ์ ชุด จองถนน
    พระรามตามกวาง ( เพลงเชิดฉาน ) ในเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ลักสีดา
    เมขลารามสูร ( เพลงเชิดฉิ่งและเชิดจีนสามตัว ) ในเรื่องรามเกียรติ์
    ศุภลักษณ์อุ้มสม ( เพลงเชิดฉิ่ง ร้องเพลงบะหลิ่ม และเบ้าหลุด ) ในเรื่องอุณรุท
ระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละคร หมายถึงระบำที่แทรกอยู่ในการแสดงละครเรื่องต่างๆ ระบำประเภทนี้มีทั้งระบำที่เป็นแบบมาตรฐาน และระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
  1. ระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละครและอยู่ในประเภทระบำมาตรฐาน เช่น
    ระบำกฤษดาภินิหาร ในละครเรื่อง เกียรติศักดิ์ไทย
    ระบำเทพบันเทิง ในละครเรื่อง อิเหนา
    ระบำพรหมาสตร์ ในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ 
  2. ระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละครและอยู่ในประเภทระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น
    ระบำนพรัตน์ ในละครเรื่อง สุวรรณหงส์
    ระบำไก่ ในละครเรื่อง พระลอ
    ระบำม้า ในละครเรื่อง อิเหนา
    ระบำเริงอรุณ ในฉากนำการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกวิรุฬจำบัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เเนะเเนว

สายอาชีพ - มีหลักสูตรหลักคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ เมื่อเรียนจบก็นำความรู้ที...